วิธีสร้าง Empathy Skill (ทักษะการเห็นใจ) เสริมจุดแข็งให้องค์กร

  • 07 พ.ย. 2566
  • 1597
Empathy Skill,ทักษะความเห็นอกเห็นใจ

Empathy Skill คือ ทักษะการเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น โดยไม่ตัดสินหรืออคติ แต่มีความรู้สึกร่วมไปกับสิ่งที่เกิดขึ้นและสามารถมองในมุมของอีกฝ่ายได้อย่างแท้จริง คือ มองในมุมที่เราเป็นเขาแล้วจะรู้สึกอย่างไร เช่น กรณีเกิดสถานการณ์เชิงลบ ถ้ามี Empathy Skill เราจะเข้าใจและอยากเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหากับเขา ไม่ใช่แค่รู้สึกเห็นใจหรือสงสารแล้วปล่อยให้เขาเผชิญปัญหาเพียงคนเดียว

 

Empathy Skill ส่งผลให้พนักงานทำงานร่วมกันได้ราบรื่น สร้างความจงรักภักดี (Loyalty) การมีส่วนร่วม (Engagement) และรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรนานขึ้น (Retention) เพราะบรรยากาศการทำงานที่ดีไม่ได้หากันได้ง่าย ๆ อีกทั้งส่งผลให้เข้าใจความต้องการลูกค้ามากขึ้น สามารถนำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพิ่มโอกาสเติบโตให้องค์กรและความก้าวหน้าของพนักงานอีกด้วย

 

5 วิธีสร้าง Empathy Skill ให้เกิดขึ้นในองค์กร

 

1 สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมความไว้วางใจ : พนักงานต้องรู้สึกไว้ใจกันและกัน เพื่อเปิดใจและแบ่งปันความรู้สึกได้อย่างแท้จริง วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมความไว้วางใจ เช่น การสื่อสารอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา แต่สื่อสารกันด้วยเหตุผลเท่านั้น แยกเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวชัดเจน, การให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของพนักงานทุกคน หรือให้ความคุ้มครองกับข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน

 

2 ส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้และเข้าใจความแตกต่าง : ทั้งความหลากหลายด้านวัฒนธรรม, เพศ, วัย, สถานะทางสังคม และอื่นๆ พนักงานต้องเรียนรู้ให้เข้าใจความแตกต่างเหล่านี้ เพื่อเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้งและถูกต้อง

 

3 จัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับ Empathy Skill : เพื่อให้พนักงานเข้าใจหลักการ ความสำคัญ รวมถึงประโยชน์ของEmpathy Skill พร้อมฝึกฝนให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ

 

4 สร้างโอกาสให้พนักงานได้ทำงานร่วมกัน : การทำโครงการที่จะเป็นผลงานร่วมกัน งานจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีการทำงานเป็นทีม ซึ่งทีมที่ดีก็ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เข้าใจมุมมองของผู้อื่นให้มากขึ้น เข้าใจหน้าที่ของแต่ละฝ่าย รวมถึงเข้าใจปัญหา ที่มาของปัญหาต่าง ๆ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร จะแก้ไขอย่างไร จะช่วยกันป้องกันปัญหาอย่างไร

 

5 ให้ความสำคัญกับการสื่อสาร : การสื่อสารที่ดีเป็นพื้นฐานของ Empathy Skill พนักงานควรฝึกฝนทักษะการสื่อสารของตนเอง เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น อาจเป็นกิจกรรมพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับปัญหาการทำงาน และร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่ามีแนวทางแก้ไขอย่างไร จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ได้ยังไงบ้าง

 

สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR : [email protected]

หางานตามสาขาอาชีพ

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved

jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด DBD

Top